บทความกฎหมาย สอบถาม โทร: 02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 LINE ID: @cmtlaw อีเมล : toebkk@hotmail.com
ติดตามความรู้ด้านกฎหมายได้จากบทความของเราค่ะ บริษัท สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร จำกัด สอบถาม โทร: 02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 LINE ID: @cmtlaw อีเมล: cmtlaw49@mail.com 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 เราคือเว็ปไซต์เดียวกันกับ www.manoontham
ที่ดิน
อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
ติดปัญหาใดเรามีทนายพร้อมดูแล โทร: 086-5589695 LINE ID: @cmtlaw
ที่ดิน คือ พื้นดิน ไม่หมายรวมถึงดินที่ขุดขึ้นมา หรือกองที่ดินที่จะถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นก็ไม่ถือว่าเป็นที่ดิน
ที่ดิน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ ได้แก่ที่ดินที่มีโฉนด หรือที่ดินที่โฉนดตราจอง หรือที่ดินที่มีโฉนดแผนที่
ที่ดิน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง ได้แก่ที่ดินที่มี ส.ค.๑ น.ส.๓ น.ส.๓ก.
คำมั่น หมายถึง การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวว่ายินดีจะซื้อหรือยินดีจะขายเหมือนกับคำเสนอแต่ต่างตรงที่ถ้อยคำที่ใช้หรือการแสดงเจตนาผูกมัดแน่นหนาเอาจริงเอาจัง
จำเลยมิได้ตัดสินใจเด็ดขาดที่จะจุดไฟเผาผู้เสียหายมาก่อน หากแต่เมื่อผู้เสียหายให้หยุดรถเพื่อพูดจากันแล้ว จึงเกิดการทะเลาะโต้เถียงท้าทายกัน จำเลยจึงเดินกลับไปเอาน้ำมันมาราดใส่ผู้เสียหายซึ่งก็ยังไม่ได้จุดไฟในทันที เมื่อผู้เสียหายท้าทายอีก จำเลยจึงจุดไฟ ทั้งนี้ปริมาณของน้ำมันที่ใช้มีเพียงครึ่งของขวดน้ำขวดเล็กเป็นจำนวนที่ไม่มากนักและเทราดเพียงที่เสื้อบริเวณหน้าอก เมื่อไฟติดแล้ว จำเลยก็ช่วยถอดเสื้อของผู้เสียหายออกในทันที เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายจากการกระทำของจำเลย ทั้งบาดแผลไฟไหม้ของผู้เสียหายมีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ไม่ทำให้ถึงแก่ความตายพฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าจำเลยตัดสินใจลงมือทำร้ายผู้เสียหายหลังจากเกิดการทะเลาะกันจนจำเลยเกิดโทสะจริต ตัดสินใจกลับไปเอาขวดน้ำมันที่รถกระบะมาเทราดใส่ผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสโดยทรมาณหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 298 ประกอบมาตรา 289(5) หาได้เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าโดยทรมาณหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายไม่
การแอบอัดเสียงใช้เป็นหลักฐานในคดีได้หรือไม่?
จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2564 ศาลฎีกาให้เหตุผลว่า “การอนุญาตให้รับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองได้มาจากการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ เท่ากับอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองนำพยานหลักฐานมาเพิ่มเติมในส่วนที่ตนนำสืบบกพร่องไว้ เพื่อจะลงโทษจำเลยแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของจำเลยและกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป
การรับฟังพยานหลักฐานนั้นมิได้เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม แต่กลับจะเป็นผลเสียที่กระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนมากกว่า จึงไม่อาจรับฟังบันทึกเสียงสนทนาและข้อความจากการถอดเทปการสนทนาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้”
กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันนั้น การแอบอัดเสียงเพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีนั้นโดยหลักไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 226/1 ที่ให้รับฟังได้โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ...คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด
การนำเช็คไปเรียกเก็บเงินก่อนกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
ในกรณีที่เช็คยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ผู้ทรงเช็คนำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค เป็นการยื่นเช็คให้ใช้เงินที่ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารจะปฎิเสธการจ่ายเงิน ด้วยเหตุเพราะบัญชีของจำเลยปิดมาก่อนวันที่จะมีการออกเช็คก็ยังไม่ถือว่าเป็นการปฎิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด เรื่องนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2526
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็คย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็คก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้ทรงนำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น จะต้องเป็นการปฏิเสธเนื่องจากมีการยื่นให้ใช้เงินโดยชอบเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงนำเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็คย่อมเป็นการยื่นให้ใช้เงินโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบด้วยมาตรา 914 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยถูกปิดมาก่อนที่จะมีการออกเช็คก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินในวันที่เช็คถึงกำหนด การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 3
สิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม ต้องจดทะเบียนรับบุญธรรม ตามกฎหมายเท่านั้น!!!
บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม เพราะกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยจะต้องมีการจดทะเบียนรับบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะเกิดสิทธิในการรับมรดก ซึ่งบุตรในประเภทนี้มักมีปัญหาถูกโต้แย้งสิทธิในการรับมรดกมากเหมือนกัน เพราะบรรดาญาติพี่น้องของเจ้ามรดกมักไม่ค่อยจะยอมรับรู้สิทธิของลูกนอกไส้ประเภทนี้ เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเป็นญาติลำดับที่ 1 ทำให้ญาติพี่น้องซึ่งเป็นญาติลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดก
แนวคำพิพากษาฎีกา
โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และ มิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่แล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526)
บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดย ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา 1629 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2523)
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511)