เรื่องสำคัญที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้ บริการด้วยใจ ใส่ใจในทุกรายละเอียด โทร :  086-558-9695 Line OA: @cmt49 Email: toebkk@hotmail.com

การขึ้นทะเบียน อย. เรื่องสำคัญที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

ปัจจุบันผู้บริโภคนั้นไม่ได้มองหาเพียงแค่สิ่งที่ต้องการในตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกต่อไป เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูล หรือการตรวจสอบความปลอดภัยต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้ผู้บริโภคมักมองหาความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์ก่อนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

การที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองหาความปลอดจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นอันดับแรกนั้น เนื่องมากจากปัจจุบันในแบรนด์อาหารเสริมมากมายในท้องตลาด ซึ่งในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็มีบางผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ปลอดภัย เรียกง่าย ๆ ก็คือ อาหารเสริมปลอม ซึ่งอาหารเสริมปลอมเหล่านี้มักมีการแอบใส่สารอันตรายเพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว แต่เมื่อทานไปได้ระยะหนึ่งก็จะมีผลเสียในร่างกายตามมา ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการระแวงในผลิตภัณฑ์ และทำการตรวจสอบก่อนซื้อ ซึ่งสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วและสะดวกก็คือ เลข อย.

เลข อย. เป็นเลขที่ออกให้โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย ในอาหารและยา เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อผู้บริโภคทานเข้าไปแล้วนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นเลข อย. จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการสร้างแบรนด์อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมต่าง ๆ จะต้องทำการขึ้นทะเบียน อย. ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นออกไปจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค มิฉะนั้นหากมีการตรวจสอบ แบรนด์ของคุณอาจโดนข้อหาผลิตอาหารเสริมปลอมออกมาจำหน่ายได้ แต่เจ้าของแบรนด์หลายคนอาจคิดว่าการทะเบียน อย. นั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก บางคนอาจไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย วันนี้ทาง Kovic จะมาบอกกันขึ้นทะเบียน อย. ให้กับเหล่าเจ้าของแบรนด์ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน อย. มากขึ้น

ประเภทของเครื่องหมาย อย.

เครื่องหมาย อย. นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง
  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด, เครื่องมือแพทย์ทั่วไป, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

อย. สำหรับสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตมีกี่ประเภท

ในการขึ้นทะเบียน อย. สำหรับสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่ไม่แปรรูปหรือใช้การแปรรูปอย่างง่าย มีเครื่องจักรกำลังไม่ต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานไม่น้อยกว่า 7 คน สามารถผลิตและจำหน่ายในชุมชนได้ แต่ต้องผ่านมาตรฐานตามกระทรวงสาธารณะสุข
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูป หรือ อาหารสำเร็จรูปที่มีผลต่อความเสี่ยงของผู้บริโภคระดับต่ำไปถึงสูง ต้องมีฉลากกำหนดคุณภาพและการควบคุมเฉพาะ

การขอจดแจ้งเลข อย. ด้วยตนเอง หรือบุคคลธรรมดา

ต้องเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน อย. ดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ ผลิต/ สถานที่นำเข้า/ สถานที่เก็บพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ ผลิต/ สถานที่นำเข้า/ สถานที่เก็บ
  • เอกสารอื่น ๆ เช่นทะเบียนพาณิชย์ (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

การขอจดแจ้งเลข อย. ด้วยนิติบุคคล

ต้องเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน อย. ดังนี้

  • สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล และหนังสือรับรองนิติบุคคล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ ผลิต/ สถานที่นำเข้า/ สถานที่เก็บ
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ ผลิต/ สถานที่นำเข้า/ สถานที่เก็บ
  • เอกสารอื่น ๆ เช่นทะเบียนพาณิชย์ (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

ขั้นตอนการขอจดแจ้ง เลขทะเบียน อย. ไม่ยากอย่างที่คิด

  • จัดเตรียมสถานที่ผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice)
  • จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตทุกแห่ง
  • ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิต พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
  • ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

สามารถอ่านข้อมูลขั้นตอนการขอเลขจดแจ้ง อย. เพิ่มเติมได้ที่

http://food.fda.moph.go.th/ESub/document/manual/Esub_supplement.pdf 

สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียน อย. ได้ที่ไหนบ้าง

  • ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ

เลข อย. นั้นมีอายุกี่ปี

  • อาหารเสริม สามารถใช้เลข อย. นั้น ๆ ได้ตลอดชีพ จนกว่าจะมีการขอยกเลิกหรือถูกสั่งให้ยกเลิกจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • เครื่องสำอาง มีอายุ 3 ปี และต้องต่ออายุทุก ๆ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนอย.

สรุป

เหล่าเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมนั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนอย. เพื่อให้ได้เลขอย.ออกมาไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นการรับรองแล้วว่าผลิตภัณฑ์ของแบรนด์นั้นปลอดภัย และได้มาตรฐาน ไม่มีการใส่สารอันตรายใด ๆ

โดยในปัจจุบันโรงงานรับผลิตอาหารเสริมหลายแห่งนั้นมีบริการที่เรียกว่า One – Stop Service ซึ่งเป็นบริการที่ควบคุมครบวงจรตั้งแต่เริ่มการคิดค้นผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ วิจัยสูตร รวมไปถึงการจดแจ้งเลข อย. อีกด้วย โดยที่เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปดำเนินเรื่องด้วยตนเอง เพียงนำเอกสารมาให้กับทางเจ้าหน้าที่ของโรงงาน เจ้าหน้าที่จะทำการดำเนินการขอขึ้นทะเบียน อย. ให้ทันที ดังนั้นเพื่อลดปัญหาในการขึ้นทะเบียน อย. สามารถเลือกโรงงานอาหารที่มีบริการเหล่านี้ได้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีปลอดภัย มีมาตรฐานรับรอง พร้อมจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค